วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Enterprise Resource Planning: ERP


การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม
(Enterprise Resource Planning: ERP)
           

ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หมายถึง การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ      ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate) รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time 

ประวัติความเป็นมาของแนวคิด ERP
                แนวคิด ERP เริ่มในยุคปี ค.ศ. 1990 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดกำเนิดเริ่มแรกของ ERP มาจากแนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม (Material Requirement Resource Planning / Manufacturing Resource Planning, MRP System) ของอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกา โดยคำว่า ERP และแนวคิดของ ERP นั้นก็พัฒนามาจาก MRP นั่นเอง
                ในที่นี้จะทำการอธิบาย ความเป็นมาของ MRP โดยย่อว่ามีความเป็นมาอย่างไร และทำไมจึงพัฒนามาเป็น ERP ได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายของ ERP ได้ดียิ่งขึ้น
                และตัวแนวคิด ERP เองก็ยังมีวิวัฒนาการอยู่ จาก ERP ก็จะเป็น Extended ERP และจะพัฒนาไปเป็น Next Generation ERP ต่อไปในอนาคต

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ
1. การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP        
จุดเด่นของ ERP คือ การบูรณาการระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง    การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน   การไหลของวัตถุดิบสินค้า (material flow) และการไหลของข้อมูล (information flow) ERP ทำหน้าที่เป็นระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด   พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที   ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
2. รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP
การรวมระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง (real time) อย่างทันที เมื่อมีการใช้ระบบ ERP    ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน    เป็นรายวัน คำนวณ ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน
            3. ระบบ ERP มีฐานข้อมูล (database) แบบสมุดลงบัญชี
การที่ระบบ  ERP  สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียว    แบบ Real time ได้นั้น  ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี database แบบสมุดลงบัญชี  ซึ่งมีจุดเด่น คือ  คุณสมบัติของการเป็น  1  Fact  1  Place  ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ  1  Fact  Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน  ขาดประสิทธิภาพ  เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย

ERP package คืออะไร
ERP  package  เป็น  application software  package  ซึ่งผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทผู้จำหน่าย  ERP  package (Vendor   หรือ  Software Vendor)  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างและบริหารงานระบบ  ERP  โดยจะใช้  ERP  package  ในการสร้างระบบงานการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต  การขาย  การบัญชี  และการบริหารบุคคล  ซึ่งเป็นระบบงานหลักขององค์กรขึ้นเป็นระบบสารสนเทศรวมขององค์กร   โดยรวมระบบงานทุกอย่างไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน
จุดเด่นของ  ERP package
1. เป็น Application Software ที่รวมระบบงานหลักอันเป็นพื้นฐานของการสร้างระบบ ERP ขององค์กร
         ERP  package จะต่างจาก  software package  ที่ใช้ในงานแต่ละส่วนในองค์กร  เช่น     production  control software, accounting software ฯลฯ   แต่ละ software ดังกล่าวจะเป็น    application  software เฉพาะสำหรับแต่ละระบบงานและใช้งานแยกกัน    ขณะที่  ERP  package  นั้นจะรวมระบบงานหลักต่างๆ ขององค์กรเข้าเป็นระบบอยู่ใน  package  เดียวกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างระบบ  ERP  ขององค์กร
2. สามารถเสนอ business scenario และ business process ซึ่งถูกสร้างเป็น pattern ไว้ได้ERP package ได้รวบรวมเอาความต้องการสำคัญขององค์กรเข้าไว้ เป็นระบบในรูปแบบของ business process มากมาย ทำให้ผู้ใช้สามารถนำเอารูปแบบต่างๆ ของ business   process ที่เตรียมไว้มาผสมผสานให้เกิดเป็น business scenario   ที่เหมาะสมกับลักษณะทางธุรกิจขององค์กรของผู้ใช้ได้
3. สามารถจัดทำและเสนอรูปแบบ business process ที่เป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรได้
การจัดทำ  Business process ในรูปแบบต่างๆ นั้นสามารถจัดให้เป็นรูปแบบมาตรฐานของ business process ได้ด้วย ทำให้บางกรณีเราเรียก ERP ว่า standard application software package

สาเหตุที่ต้องนำ  ERP package มาใช้ในการสร้างระบบ
1. ใช้เวลานานมากในการพัฒนา software   การที่จะพัฒนา  ERP  software  ขึ้นมาเองนั้น  มักต้องใช้เวลานานมากในการพัฒนา  และจะต้องพัฒนาทุกระบบงานหลักขององค์กรไปพร้อมๆ กันทั้งหมด จึงจะสามารถรวมระบบงานได้ ตามแนวคิดของ ERP ซึ่งจะกินเวลา  5-10  ปี  แต่ในแง่ของการบริหารองค์กร  ถ้าต้องการใช้ ระบบ  ERP  ฝ่ายบริหารไม่สามารถจะรอคอยได้เพราะสภาพแวดล้อมในการบริหารมีการเปลี่ยนแปลงตลอด  ระบบที่พัฒนาขึ้นอาจใช้งานไม่ได้  ดังนั้นผู้บริหารจึงไม่เลือกวิธีการพัฒนา  ERP  software เองในองค์กร
2. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูงมาก   การพัฒนา business software ที่รวมระบบงานต่างๆเข้ามาอยู่ใน package เดียวกัน จะมีขอบเขตของงานกว้างใหญ่มากครอบคลุมทุกประเภทงาน ต้องใช้เวลานานมากในการพัฒนาและค่าใช้จ่ายก็สูงมากตามไปด้วย หรือถ้าให้บริษัทที่รับพัฒนา software ประเมินราคาค่าพัฒนา ERP software ให้องค์กร ก็จะได้ในราคาที่สูงมาก ไม่สามารถยอมรับได้อีกเช่นกัน
3. ค่าดูแลระบบและบำรุงรักษาสูง   เมื่อพัฒนา business software ขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องดูแลและบำรุงรักษา และถ้ามีการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก้ไขโปรแกรม การบำรุงรักษาจะต้องทำอยู่อย่างยาวนานตลอดอายุการใช้งาน เมื่อรวมค่าบำรุงรักษาในระยะยาวต้องใช้เงินสูงมาก อีกทั้งกรณีที่มีการปรับเปลี่ยน Software ไปตาม platform หรือ network ระบบต่างๆ ที่เปลี่ยนไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ก็เป็นงานใหญ่ ถ้าเลือกที่จะดูแลระบบเองก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษานี้ พร้อมกับรักษา บุคลากรด้าน IT นี้ไว้ตลอดด้วย

1 ความคิดเห็น: