วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Supply Chain Management:SCM

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

(Supply Chain Management:SCM)


        การจัดห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวข้องกับการประสานงานและร่วมมือกันตั้งแต่กระบวนการจากผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ไปยังผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้แทนจำหน่าย จนกระทั่งผู้บริโภค
   
สำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ ทั้งที่ธุรกิจโดยหวังผลกำไรและไม่หวังผลกำไร โดยสามารถจำแนกห่วงโซ่อุปทานได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ห่วงโซอุปทานที่เข้าสู่ผู้ผลิต (Upstream Supply Chain) ซึ่งสอดคล้องกับการซื้อ อีกแบบหนึ่งเป็นห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่ลูกค้า (Downstream Supply Chain) ซึ่งสอดคล้องกับการขาย
    
การจัดการห่วงโซ่อุปทานไม่ได้แค่ประกอบไปด้วยผู้ผลิตและผู้ซื้อเท่านั้น แต่ยังคงประกอบไปด้วยคนกลาง อย่างเช่น ผู้จัดส่งวัตถุดิบให้กับผู้ผลิตและลูกค้าของลูกค้า บางบริษัทอาจจะมีผู้จัดส่งวัตถุดิบเพียงแห่งเดียว 2 แห่ง 3 แห่ง อาจจะมีลูกค้าระดับบน ระดับล่าง จึงทำให้แต่ละบริษัทมีห่วงโซ่อุปทานที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสินค้าที่มีความแตกต่างกัน การใช้คำว่าห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นอะไรที่ค่อนข้างจำกัด จะเห็นได้ว่าคำว่าเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Network) สามารถสะท้อนให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและคู่ค้าทางธุรกิจได้ดีกว่า และการนำเทคโนโลยีการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ช่วยให้การไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพราะการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้จัดส่งวัตถุดิบและคนกลางนั้นอยู่บนพื้นฐานของการไหลเวียนและแบ่งปันข้อมูล บทบาทหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบห่วงโซ่อุปทาน คือการสร้างการเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างฟังก์ชันภายในบริษัท เช่น การตลาด การขาย การเงิน การผลิตและการจัดจำหน่าย
                   องค์ประกอบพื้นฐาน 5ประการของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
 1.การวางแผน บริษัทต้องมีการวางแผนการสำหรับการบริหารทรัพยากรทั้งหมดที่ตอบสนองอุปสงค์ของผู้บริโภคสำหรับสินค้าหรือบริการ
 2.
แหล่งที่มา บริษัทต้องเลือกผู้จัดหาที่น่าเชื่อถืออย่างรอบคอบที่จะมอบสินค้าหรือบริการที่จำเป็นสำหรับการผลิตสินค้า
 3.
การผลิต เป็นขั้นตอนที่บริษัทผลิตสินค้าหรือบริการสามารถบรรจุตารางกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับการผลิต การทดสอบผลผลิตและกำลังผลิตของคนงาน
 4.
การจัดส่ง ขั้นตอนนี้คือ การขนส่งเป็นชุดของกระบวนการที่วางแผนและควบคุมการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 5.
การคืนกลับ เป็นขั้นตอนที่มีปัญหามากที่สุดในห่วงโซ่อุปทาน

                     หลักการ 7 ประการในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
 1.แบ่งประเภทลูกค้าโดยความต้องการในการบริการ
 2.
กำหนดเครือข่ายการขนส่งและให้ความสำคัญกับความต้องการบริการและการทำกำไร
 3.
ฟังสัญญาณของอุปสงค์ของตลาดและวางแผน
 4.
ทำให้เห็นความแตดต่างของสินค้าที่ใกล้ชิดลูกค้า
 5.
จัดการแหล่งวัตถุดิบด้วยกลยุทธ์
 6.
พัฒนากลยุทธ์เทคโนโลยีห่วงโซ่อุปทานที่รองรับระดับที่แตกต่างของการตักสินใจ
 7.
นำวิธีการประเมินการปฏิบัติงานมาใช้กับทุกความเชื่อมโยงในห่วงโซ่อุปทาน
                         เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการห่วงโซอุปทาน
         การนำระบบข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน  และการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยจัดการห่วงโซ่อุปทาน การเคลื่อนไปสู่ธุรกิจค้าขายบนอินเทอร์เน็ตเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำที่นำมาทดแทนการใช้ระบบการสั่งซื้อสินค้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิม การสื่อสารกับผู้จัดสรรส่งวัตถุดิบในช่องของอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ห่วงโซ่อุปทานขององค์กรรวมสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไว้ที่วัตถุดิบ หลักการห่วงโซ่อุปทานที่มีการมองเห็นข้อมูลที่สมบูรณ์ ซอฟต์แวร์ปฎิบัติการห่วงโซ่อุปทานควบคุมขั้นตอนที่ต่างกันและขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานให้เป็นไปโดยอัตโนมัต ซึ่งมีความง่ายโดยคำสั่งถูกส่งผ่านแบบอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ผลิตไปถึงผู้จัดหา
แบบจำลองห่วงโซ่อุปทาน (The Model of Supply Chain Management)
         
กระบวนการแรกเริ่มของห่วงโซ่อุปทาน คือ ระบบการสรรหาทรัพยากรต่อไป คือ กระบวนการที่ก่อให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการ ซึ่งถูกส่งต่อไปยังลูกค้า องค์กรที่กำลังจะดำเนินการขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตสามารถพิจารณาจากมุมมองนี้ เพื่อปรับปรุงการส่งสินค้าไปยังลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและทำให้ต้นทุนในการส่งสินค้าต่ำลง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงระบบภายในเท่านั้น แต่เป็นการปรับปรุงกระบวนการภายนอกที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ ผู้จัดจำหน่ายและลูกค้า และยังเป็นโอกาสที่ดีในการช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า ให้มีคุณภาพสูงขึ้น ดังนั้น การจัดการห่วงโซ่อุปทานจึงมีผลกระทบต่อกำไรของบริษัท เนื่องจากต้นทุนการบริหารงานต่างๆที่ลดลง และความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่ความจงรักภักดีที่มากขึ้น และแน่นอนคือ ในส่วนของรายได้ที่บริษัทจะได้รับมากขึ้นด้วย 


2 ความคิดเห็น: